เครื่องซีลถุง

เครื่องซีลถุง
เครื่องซีลถุง ซีลง่ายปิดแน่นถนอมอาหารคงความอร่อยได้ยาวนาน

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

เจ้าของ เรือล่มที่อยุธยา โดนโทษหนักทั้งจำทั้งปรับ พร้อมวางมาตรการป้องปราม

เรือล่มที่อยุธยา

กรมเจ้าท่า ดำเนินคดีหนัก เจ้าของ เรือล่มที่อยุธยา ทั้งจำ ทั้งปรับ พร้อมวางมาตรการป้องปราม เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ร่วมทำความเข้าใจทุกพื้นที่ ให้เรือโดยสารบรรทุกคน-น้ำหนักตามใบอนุญาต...

วันที่ 20 ก.ย.59 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ เรือล่มที่อยุธยา หน้าวัดสนามไชย จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วว่า เกิดข้อบกพร่องจากจุดใด หากเกิดจากความหละหลวมในการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าด้วย ก็จะต้องดำเนินการลงโทษตามขั้นตอนต่อไป ส่วนการที่เรือมีการบรรทุกผู้โดยสารเกินที่กำหนดนั้น ก็ต้องดำเนินการตามข้อกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ตนได้กำชับ และเน้นย้ำเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยมาโดยตลอด ดังนั้น คงต้องรอดูว่าเกิดจากข้อบกพร่องใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วทุกจังหวัดที่มีท่าเรือทั้งหลาย จะมีเจ้าท่าประจำอยู่จังหวัดนั้นๆ อยู่แล้ว จึงได้กำชับให้มีความเข้มงวดกวดขันดูแลให้มากยิ่งขึ้น

ด้าน นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวสูงถึง 27 คน และยังมีผู้ประสบเหตุที่สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งผลการสอบสวนอุบัติเหตุดังกล่าว เบื้องต้นพบว่า เรือล่มที่อยุธยา ลำที่เกิดเหตุมีการบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าจำนวนที่ได้รับอนุญาตที่ระบุไว้ 50 คน แต่ในวันเกิดเหตุมีการบรรทุกผู้โดยสารถึง 120 คน ซึ่งถือว่ามีการกระทำผิดที่ชัดเจน

ในส่วนนี้จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมายกับเจ้าของ เรือล่มที่อยุธยา โดยการทำผิดที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตนั้น จะมีโทษสูงสุดจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท แต่ในกรณีนี้ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวนมาก ก็จะมีการส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ในส่วนของคดีอาญาอื่นๆ ต่อไป ส่วนการป้องปรามปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต กรมเจ้าท่าเห็นปัญหาว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักมาจากท่าเรือที่รับส่งผู้โดยสาร ที่เป็นท่าเรือส่วนบุคคล ไม่ใช่ท่าเรือที่มีผู้โดยสารขึ้นลงตามเส้นทางที่ได้รับอนุญาต เมื่อขาดเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าเข้าไปควบคุม ก็มักจะมีการบรรทุกผู้โดยสารเกินกว่าจำนวนที่กำหนดในใบอนุญาต ถือเป็นการละเลยมาตรการความปลอดภัยทั้งในส่วนของเจ้าของเรือและผู้ใช้บริการ

นายศรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นหลังจากนี้กรมเจ้าท่าจะมีการเรียกผู้ประกอบการเจ้าของเรือมาทำความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกในประเด็นการปฏิบัติตามใบอนุญาตและมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปทำความเข้าใจในทุกพื้นที่ที่มีบริการเรือโดยสารในทุกจังหวัด รวมทั้งล่าสุดกระทรวงคมนาคมมีนโยบาย ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจสอบมาตรฐานและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ ซึ่งเดิม จะมีการตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง แต่หลังจากนี้ก็จะมีการตรวจสอบทุก 3 เดือน หรือปีละ 4 ครั้ง เพื่อให้เกิดจิตสำนึกและการดูแลมาตรฐานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


อ่านข่าว เรือล่มที่อยุธยา เพิ่มเติมได้ที่
http://www.thairath.co.th/content/728320

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น